รู้จักวิริยะตะกาฟุล
ทำความรู้จัก "ตะกาฟุล" ให้มากขึ้น
ตะกาฟุล ตามหลักศาสนา หมายถึง
ระบบการประกันภัยตามหลักศาสนาอิสลาม หรือ ชะรีอะฮ์ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการของ การให้ความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (อัต-ตะอาวุน) และการบริจาค (อัต-ตะบัรรุอ)
เปรียบเทียบ ประกันภัยทั่วไป กับ ตะกาฟุล
|
ประกันภัยทั่วไปConventional |
ตะกาฟุลTakaful |
จุดมุ่งหมาย |
มุ่งหวังผลกำไรที่ได้จากการประกันภัย |
ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรเป็นหลัก แต่มุ่งหวังการช่วยเหลือเกื้อกูลสมาชิกในกลุ่ม |
สัญญา |
การซื้อ-ขาย กรมธรรม์ ระหว่างบริษัท และผู้เอาประกันภัย |
ประกอบไปด้วย สัญญาการบริจาค การมอบหมายให้บริษัทดูแล |
ลักษณะของสัญญา |
ความเสี่ยง ถูกเคลื่อนย้ายจากผู้เอาประกันภัยไปสู่บริษัทแต่เพียงผู้เดียว |
เป็นการแชร์ความเสี่ยงร่วมกัน ระหว่างสมาชิกคนอื่นๆด้วย รวมถึงบริษัท |
หน้าที่ของผู้เอาประกันภัย/สมาชิก |
ผู้เอาประกันภัยจ่ายเบี้ยประกันให้บริษัท ส่วนเกินของการดำเนินการ(กำไร) ผู้ถือหุ้นบริษัทจะได้รับแต่เพียงผู้เดียว |
สมาชิก บริจาคเข้ากองทุนตะกาฟุล สมาชิกตะกาฟุลเป็นเจ้าของเงิน หากสมาชิกท่านใดเกิดเหตุจะนำเงินนี้ไปช่วยเหลือ |
สถานภาพการจัดการ |
บริษัทเป็นผู้จัดการกองทุนของผู้เอาประกัน และกองทุนของผู้ถือหุ้น |
บริษัทเป็นผู้ดูแลกองทุนบริจาค และจัดการนำผลประโยชน์ให้กับสมาชิกเมื่อประสบภัย ในกรณีที่กองทุนบริจาคขาดแคลน บริษัทจะต้องให้เงินยืมโดยไม่มีดอกเบี้ยให้กับกองทุน |
การลงทุนในกองทุน |
ลงทุนโดยไม่มีข้อจำกัด ส่วนใหญ่อยู่บนพื้นฐานของดอกเบี้ย เช่น ให้กู้ยืม ให้หุ้นกู้พันธบัตร และอื่นๆ เพื่อเป็นการประกันความมั่นคงของบริษัท |
จะต้องลงทุนในสิ่งที่ไม่มีดอกเบี้ยเท่านั้น และห้ามลงทุนที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ เนื้อหมู และอื่นๆที่ผิดศาสนาบัญญัติ |
สาเหตุที่ประกันภัยทั่วไปเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (حرام)
1. ความคลุมเครือ (غرر) (ฆอรอร) สัญญาของประกันภัยทั่วไปจะผูกมัดกับสิ่งที่ไม่แน่นอน การให้เงินชดเชยจะให้ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์สูญเสียขึ้น ซึ่งก็หมายถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น หรืออาจไม่เกิดขึ้นก็ได้ สัญญาลักษณะนี้ถือว่า เป็น สิ่งที่คลุมเครือไม่ชัดเจนและไม่แน่นอน ฉะนั้นเงินชดเชย หรือผลประโยชน์ที่จะมอบให้กับผู้เอาประกันนั้นผูกมัดกับสิ่งไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้เอาประกันอาจจะได้รับเงินชดเชยหรืออาจจะไม่ได้รับ ดังนั้น ความคลุมเครือ เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในบทบัญญัติอิสลาม
2. มีลักษณะเป็นการพนันเสี่ยงโชค (ميسر) (มัยซิร) ลักษณะการลงทุนของบริษัทประกันภัยนี้ มีลักษณะเหมือนกับการลงทุนในตัวเงินด้วยกับตัวเงิน ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการเดิมพันตัวเงินด้วยกับเงิน จึงทำให้เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในอิสลาม
3. มีความเกี่ยวข้องกับระบบดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาดในอิสลาม (الربا) (ริบา) เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในอิสลามอย่างเด็ดขาด ลักษณะของบริษัทประกันภัยทั่วไปอยู่บนพื้นฐานของดอกเบี้ย
4. มีการลงทุนที่ผิดหลักการ บริษัทประกันภัยอาจจะนำกองทุนไปลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องห้ามในอิสลาม เช่น สุรา การพนัน สุกร สิ่งลามก อนาจาร รวมถึงการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยด้วย
วิริยะตะกาฟุล
มีหลักบริหารจัดการกองทุนตะกาฟุลอย่างไร
หลักการบริหารจัดการกองทุน
โดยมีคณะกรรมการชะรีอะฮ์ วิริยะตะกาฟุล ดังนี้
ทำไมต้องเลือกใช้ วิริยะตะกาฟุล
วิริยะตะกาฟุล มีผลิตภัณฑ์ตะกาฟุล ที่ถูกออกแบบและจัดตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของพี่น้องมุสลิม ผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม โดยบริษัทมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการให้บริการผลิตภัณฑ์ตะกาฟุลสำหรับพี่น้องมุสลิมและบุคคลทั่วไป เพื่อสร้างหลักประกันตะกาฟุลเป็นสวัสดิการช่วยเหลือดูแลยามเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ด้วยการบริหารจัดการด้านศาสนาภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการที่ปรึกษาชะรีอะฮ์วิริยะตะกาฟุล
วิริยะประกันภัย มีจุดเด่นอย่างไร
วิริยะประกันภัย เป็นบริษัทที่ครองส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 มาอย่างยาวนานกว่า 35 ปี สำหรับผลิตภัณฑ์ประกันภัยรถยนต์ และอันดับ 1 ด้านประกันวินาศภัย ติดต่อกันกว่า 30 ปี นอกจากนี้ยังได้รับรางวัล “ผู้สำรวจอุบัติเหตุรถยนต์ดีเด่น” Best Surveyor Award ติดต่อกันถึง 6 ปี (2556-2561)
เราพร้อมให้บริการ ด้วยจำนวนสาขาและศูนย์บริการสินไหมทดแทน 163 แห่ง ศูนย์ซ่อมมาตรฐานกว่า 600 แห่ง และโรงพยาบาลคู่สัญญากว่า 570 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่สำคัญ 75 จังหวัด ทั่วประเทศ ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านสายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1557 ที่พร้อมให้บริการกว่า 60 คู่สาย
หากท่านสนใจผลิตภัณฑ์ตะกาฟุล
ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือเสนอแนะติชม
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 0-2129-8888 หรือ
รบกวนกรอกข้อมูลด้านล่าง เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไปให้ข้อมูลท่านโดยเร็วที่สุด